Skip to main content

ติกมาติกา​

ติกมาติกา​ (หน้าที่​๑-๕)
ทุกมาติกา​ (หน้าที่๕-๒๗)​
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ​    (หมวดละ​ 3 ข้อ)
ทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ​ (หมวดละ​ ​2 ข้อ)​
  แบ่งเป็น​ :  อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ
                   สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ

ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
๑. กุสลติกะ : ธรรม​เป็น​
     กุศล,อกุศล​ และอัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ​ : ธรรมสัมปยุตด้วย
     -​ สุขเวทนา
     -​ ทุกขเวทนา
     -​ อทุกขมสุขเวทนา
    (สัมปยุต​ : เกิดร่วม)​
๓. วิปากติกะ​ : ธรรมเป็น
     -​ วิบาก
     -​ เหตุแห่งวิบาก
     -​ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก
๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ​ :
     ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย
     ตัณหาทิฏฐิ
    -​ เข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
    -​ ไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์​ของ​
       อุปทาน​
    -​ ไม่เข้ายึดครอง​และ​ไม่​เป็น​อารมณ์​ของ​
       อุปาทาน​
 ๕. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ
  -​ ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์
    ของสังกิเลส
  -​ ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์
    ของสังกิเลส
  -​ ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์
    ของสังกิเลส
   (สังกิเลส​ : จิตเศร้าหมอง)​
๖. วิตักกติกะ
 -​ ธรรมมีวิตกมีวิจาร
 -​ ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร
 -​ ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
   (วิตก​ : ตรึก, คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)​
   (วิจาร​ : ตรอง, คือการประคองจิตให้มั่น
     อยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง)​
๗. ปีติติกะ
 -​ ธรรมสหรคตด้วยปีติ
 -​ ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา
 -​ ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
๘. ทัสสนติกะ
 -​ ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
 -​ ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
 -​ ธรรมอันโสดาปัตติมรรค
   และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ
   (ปัตติ​ : ส่วนบุญ, ประหาณ​ : การละ)​
๑๐. อาจยคามิติกะ
 -​ ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ
 -​ ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
 -​ ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ
   และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
๑๑. เสกขติกะ
 -​ ธรรมเป็นของเสกขบุคคล
- ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล
- ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล
  และไม่เป็นของอเสกขบุคคล
   (อเสกข​บุคคล​ : ​ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก 
   หมายถึง พระอรหันต์)​
๑๒. ปริตตติกะ
- ธรรมเป็นปริตตะ
- ธรรมเป็นมหัคคตะ
- ธรรมเป็นอัปปมาณะ
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
- ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ
(ปริตตะ​ : กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด)​
- ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ
(มหัคคตะ​ : กุศลธรรม อกุศลธรรม 
และอัพยากตธรรม ที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร)
- ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ
(อัปปมาณะ​ : มรรคและผล ของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ)​
๑๔. หีนติกะ
- ธรรมทราม
- ธรรมปานกลาง
- ธรรมประณีต
 ๑๕. มิจฉัตตติกะ
- ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน
- ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน
- ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
- ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์
- ธรรมมีเหตุคือมรรค
- ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี
๑๗. อุปปันนติกะ
- ธรรมเกิดขึ้นแล้ว
- ธรรมยังไม่เกิดขึ้น
- ธรรมจักเกิดขึ้น
๑๘. อตีตติกะ
- ธรรมเป็นอดีต
- ธรรมเป็นอนาคต
- ธรรมเป็นปัจจุบัน
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
- ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต
- ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต
- ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
๒๐. อัชฌัตตติกะ
- ธรรมเป็นภายใน
- ธรรมเป็นภายนอก
- ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
- ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน
- ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก
- ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก
๒๒. สนิทัสสนติกะ
- ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
- ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
- ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

Comments